Competency - based Education
โครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... (หลักสูตรฐานสมรรถนะ)

ที่มาและกรอบแนวคิด

ที่มาและกรอบแนวคิด

การจัดการตนเองเป็นการใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพพอดี สมดุลทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สิ่งเหล่านี้ที่จะทําให้บุคคลใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พอใจในการใช้ ชีวิต รักและนับถือตนเอง ปรับตัวและฟื้นคืนสภาพอย่างรวดเร็ว เมื่อเผชิญกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลง ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ และได้รับการพัฒนาและฝึกฝนทักษะจนเกิดเป็นความชํานาญ หรือเป็น คุณลักษณะเฉพาะตัว

องค์การอนามัยโลก (WHO: 2003) และ OECD. (2020) ได้อธิบายการจัดการตนเองไปทิศทาง เดียวกันว่า คือ ความสามารถในการปรับตัว และมีพฤติกรรม ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ในการที่จะเผชิญกับ สิ่งท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในชีวิตประจํา วันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นสิ่งที่จรรโลงให้เกิด การดํารงไว้ ซึ่งสภาวะสุขภาพจิตที่ดี สามารถปรับตัวและมีพฤติกรรมไปในทาง ที่ถูกต้องในขณะที่เผชิญแรงกดดัน หรือกระทบกับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รอบตัว ซึ่งสอดคล้องกับองค์การยูนิเซฟ (UNICEF: 2001) ได้อธิบายว่าเป็นความสามารถ ใช้ความรู้ เจตคติ และทักษะต่าง ๆ ที่ช่วยในการสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล ให้สามารถรับผิดชอบตนเอง สําหรับการดําเนินชีวิตโดยมีการสร้างทางเลือกที่ดี การต่อต้านความกดดัน จากกลุ่มเพื่อน และการจัดการกับสิ่งที่เข้ามาคุกคามชีวิต ส่วนสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้อธิบายการจัดการตนเองไว้ในเป็นองค์ประกอบของ ทักษะชีวิตที่สําคัญที่จะสร้างและพัฒนาเป็นภูมิคุ้มกัน ชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชนในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรียมพร้อมสําหรับอนาคตได้แก่ 

1. การตระหนักรู้และ เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น หมายถึง การรู้จัก ความถนัดความสามารถ จุดเด่น จุดด้อยของตนเอง เข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล รู้จักตนเอง ยอมรับเห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น มีเป้าหมายในชีวิต และมีความรับผิด 

2. การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร ปัญหาและ สถานการณ์รอบตัววิพากษ์วิจารณ์ และประเมินสถานการณ์รอบตัว ด้วยหลักเหตุผลและข้อมูลที่ถูกต้อง รับรู้ปัญหา สาเหตุของปัญหา หาทางเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ 

3. การจัดการกับอารมณ์และความเครียด หมายถึง ความเข้าใจและ รู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของบุคคล รู้สาเหตุของความเครียด รู้วิธีการควบคุมอารมณ์และความเครียด รู้วิธีผ่อน คลาย หลีกเลี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ ไม่พึงประสงค์ไปในทางที่ดี 

4. การสร้าง สัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น หมายถึง การเข้าใจมุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น ใช้ภาษาพูดและภาษากาย เพื่อสื่อสารความรู้สึก นึกคิดของตนเอง รับรู้ความรู้สึกนึกคิดและความต้องการ ของผู้อื่น วางตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ ใช้การสื่อสารที่สร้าง สัมพันธภาพที่ดีสร้างความร่วมมือและทํางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

การจัดการตนเอง จึงเป็นการพัฒนาตน ความพยายามของบุคคลที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนด้วย ตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม เหมาะสมกว่าเดิม ทําให้สามารถดําเนินกิจกรรม แสดงพฤติกรรมเพื่อสนองความต้องการ แรงจูงใจ หรือเป้าหมายที่ตนตั้งไว้ เป็นการพัฒนาศักยภาพของตนด้วยตนเองให้ดีขึ้น ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อให้ตนเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสังคม เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ตลอดจนเพื่อการดํารงชีวิตอย่างสันติสุขของตน บุคคลล้วนต้องการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ หรืออย่างน้อยก็ต้องการมีชีวิตที่เป็นสุขในสังคม ประสบความสําเร็จตามเป้าหมายและความต้องการของตนเอง พัฒนาตนเองได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นในสังคมโลก โดยสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2562) ได้อธิบายแนวคิดพื้นฐานที่สําคัญ ในการพัฒนาการจัดการตนเองไว้ในการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านทักษะชีวิตและความเจริญแห่งตนมีไว้ว่า 

1. มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่มีคุณค่าอยู่ในตัวเอง ทําให้สามารถฝึกหัดและพัฒนาตนได้ในเกือบทุกเรื่อง 

2. ไม่มีบุคคลใดที่มีความสมบูรณ์พร้อมทุกด้าน จนไม่จําเป็นต้องพัฒนาในเรื่องใด ๆ อีก 

3. แม้บุคคลจะเป็น ผู้ที่รู้จักตนเองได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตนเองได้ในบางเรื่องยังต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่น ใน การพัฒนาตน การควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทําของตนเอง มีความสําคัญเท่ากับการควบคุม สิ่งแวดล้อมภายนอก 

4. อุปสรรคสําคัญของการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง คือ การที่บุคคลมีความคิดติดยึด ไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีคิด และการกระทํา จึงไม่ยอมสร้างนิสัยใหม่ หรือ ฝึกทักษะใหม่ๆ ที่จําเป็นต่อตนเอง 5) การปรับปรุงและพัฒนาตนเอง สามารถดําเนินการได้ทุกเวลาและอย่างต่อเนื่อง เมื่อพบปัญหาหรือ ข้อบกพร่อง เกี่ยวกับตนเอง

การจัดการตนเอง หมายถึง การรู้จักตนเอง รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถกําหนดเป้าหมายและ นําตนเองในการเรียนรู้ ทํางาน และใช้ชีวิตตามความสามารถ ความสนใจ และความถนัดของตน มีวินัย ในตนเอง สามารถบริหารจัดการเวลา ทรัพยากร และสุขภาวะ เพื่อบรรลุเป้าหมายได้อย่างพอเพียงและ มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยลักษณะสําคัญ 3 ด้าน คือ

1. การจัดการอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง รับรู้และใส่ใจอารมณ์และความรู้สึกของตนเองและ ผู้อื่น เข้าใจสาเหตุที่ทําให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกนั้น รู้ทันความคิดของตน อยู่กับปัจจุบัน มีสติ และกลับคืน สู่สภาวะปกติของตนเองหลังจากเผชิญกับอารมณ์หรือความรู้สึกต่าง ๆ

2. การรู้จักความสามารถ และความภาคภูมิใจในตนเอง รู้ข้อดี ข้อจํากัด ความสนใจ และความ ถนัดของตนเอง มั่นใจในตนเอง กล้าทํา กล้าปฏิเสธ ภูมิใจในสิ่งที่ตนเองเป็น รับฟังผู้อื่น ให้โอกาส แบ่งเป็น เห็นใจ โอบอุ้ม ดูแล

3. การกําหนดเป้าหมาย และกํากับตนเอง มีเป้าหมายในการใช้ชีวิต หรือปฏิบัติ วางแผนไปสู่ เป้าหมาย ทบทวนและปรับแต่งแผน และกํากับตนเองให้ลงมือทําตามแผน พยายาม อดทน มุ่งมั่น