Competency - based Education
โครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... (หลักสูตรฐานสมรรถนะ)

ศิลปะ (28/ม.ค./65)

ศิลปะ

ความสำคัญของสาระการเรียนรู้ศิลปะ

พัฒนาการการเรียนรู้ด้านสุนทรียศาสตร์ (ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์)

          เด็กประถมต้น (ช่วงชั้นที่ 1) เป็นวัยที่สมองกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ขยายความจุอย่างมาก จึงเป็นหน้าต่างแห่งโอกาสทองในการพัฒนาสมองที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่

1) พัฒนาสมองส่วนเชื่อมต่อ (Corpus Callosum) เพื่อสร้างสมดุลระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกขวา ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทั้ง Psychomotor ความเข้าใจเชิงโครงสร้าง เชิงระบบ รวมถึงการทำงานเซลล์กระจกเงา (Mirror Neurons) ใน Premotor Cortex ซึ่งเป็นเซลล์ที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ที่เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบผู้อื่น

2) พัฒนาการทำงานของสมองส่วนหน้าให้เกิดโครงข่ายของเซลล์ประสาทในชุดที่รับรู้ความละเอียดประณีต ซับซ้อน การตัดสินใจ การคิดวิจารณญาณ การสะท้อนคิดอย่างลึกซึ้ง (Executive Function)

3) การพัฒนาของสมองส่วนหน้าที่ไปช่วยกำกับการทำงานของสมองส่วน Limbic System และ Amygdala ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความทรงจำ

4) การพัฒนาสมองส่วน Cerebellum ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีจังหวะ ท่วงที ลีลา และการทำงานของร่างกายทุกส่วนกับขอบเขตและมิติของพื้นที่ ซึ่งต้องอาศัยศิลปะทั้งทัศนศิลป์และดนตรีเป็นฐานปฏิบัติเรียนรู้ และสามารถกระตุ้นพัฒนาการของสมองทั้ง 4 หน้าที่ดังกล่าวได้โดยตรง