เมื่อ วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.00-16.00 น. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดการประชุมวิพากษ์ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) ในส่วนของสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผ่านระบบ ออนไลน์ โดยมี ดร.สิริกร มณีรินทร์ ประธานอำนวยการในคณะกรรมการจัดทำและพัฒนา (ร่าง) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช …. (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ครูผู้สอนสังกัดรัฐบาล เอกชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษานิเทศก์ อาจารย์มหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ผลการสรุปประเด็นการวิพากษ์มีประเด็นน่าสนใจ เช่น ช่วงชั้นที่ 1 ควรเพิ่ม เรื่องราวเกี่ยวกับโรงเรียนและชุมชน เป้าหมายคือทำอย่างไรให้ชอบเรียนประวัติศาสตร์ รักประวัติศาสตร์ เข้าใจ และต่อยอดได้ สาระหน้าที่พลเมือง ส่วนใหญ่เน้นพลเมืองที่เข้มแข็ง ควรเน้นการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ควรเพิ่มในช่วงชั้นที่ 1 และเน้นในช่วงชั้นที่ 2 และสาระศีลธรรม การสอนในเชิงของพุทธศาสนา ควรจะคำนึงถึงผู้ที่นับถือศาสนาอื่นและคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาด้วย เพื่อให้ได้แนวทางในการปฏิบัติตน และก็อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขจริง ๆ เป็นต้น
- หน้าหลัก
- สารจากผู้บริหาร
- กรอบหลักสูตร
- บทนำ
- แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร
- วิสัยทัศน์
- หลักการ
- จุดหมาย
- คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- สมรรถนะหลัก 6 ประการ
- ช่วงชั้นที่ 1
- ช่วงชั้นที่ 2
- ช่วงชั้นที่ 3
- ช่วงชั้นที่ 4
- แนวทางการจัดการเรียนรู้ และการประเมินการเรียนรู้
- กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. (24/ก.พ./65)
- แผนการใชัหลักสูตร
- ร่วมแสดงความคิดเห็น
- ชุมชนแห่งการเรียนรู้
- เรื่องน่ารู้
- บทความ
- คลิปวิดีโอ
- การปรับปรุงหลักสูตรฐานสมรรถนะ ด้านศีลธรรม โดย พระพรหมบัณฑิต
- หลักการจัดการเรียนรู้และการวัดผลที่เน้นสมรรถนะ (รศ. ดร. ทิศนา แขมมณี)
- การปฏิรูปการศึกษากับหลักสูตรฐานสมรรถนะ (รศ. ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ)
- การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและสถาบันการผลิตครู (รศ. ดร. ศิริเดช สุชีวะ)
- ปรับหลักสูตรการศึกษาอย่างไร :หลักสูตรฐานสมรรถนะจะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ฯ (ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองกรรมการผู้จัดการ Western Digital)
- เอกสารที่เกี่ยวข้อง